Subscribe:

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

Alien Species คือ?


Alien Species คือชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานไม่ใช่เอเลี่ยนที่อยู่ในภาพยนตร์แต่มันมาเพื่อรุกรานเหมือนกัน กำลังถูกพูดถึงบ่อยมากในระยะหลัง ตั้งแต่พบการแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในจำนวนมากจนน่าตกใจ ซึ่งผลทำให้สิ่งมีชีวิตในท้องถื่นลดจำนวนลงเกือบสูญพันธุ์ ปัญหาดังกล่าวสร้างความวิตกให้คนทั่วโลก แม้แต่ประเทศไทยที่ขึ้นชื่อเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ แต่หากปล่อยให้ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานต่อไป เกรงว่าจะเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งมีชีวิตในประเทศได้ในเวลาไม่นาน



หลายคนยังคงมีความสงสัยเกี่ยวกับว่าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นคืออะไร ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานคืออะไร เมื่อทำการศึกษาค้นคว้าก็พบว่า ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Introduced species or Exotic species) คือ ชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยปรากฎในเขตชีวภูมิศาสตร์หนึ่งมาก่อน แต่ถูกนำมาแพร่กระจายมาจากที่อื่นด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง และสามารถดำรงชีวิต สืบพันธุ์ได้ในพื้นทีนั้น



ส่วน”เอเลี่ยนสปีชีย์ “(Invasive species or Alien species) คือ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นฐานและสามารถยึดครองจนเป็นชนิดเด่นในพื้นที่ และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสุขอนามัยของประชาชนด้วยหากไม่มีการควบคุมและจัดการอย่างเหมาะสม




ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นแต่ละชนิดมีถิ่นอาศัยที่มีความเฉพาะตัวในด้านการกระจายทางภูมิศาสตร์ ซึ่งการแพร่กระจายของมันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร สภาพภูมิประเทศและสิ่งที่อยู่แวดล้อมต่างๆ ที่ได้ปรับตัวให้เหมาะสมแล้ว ซึ่งเวลาในการปรับตัวอาจจะใช้เวลานานนับพันปีขึ้นไป แต่เมื่อไรที่มีการนำเอาสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆออกมาจากถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมของมัน และนำไปปล่อยยังพื้นที่อื่นที่ไม่เคยมีสัตว์ชนิดนั้นมาก่อน สิ่งมีชีวิตนั้นก็จะกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นซึ่งอาจจะมีผลกับการเป็นอยู่ของตัวมันเองเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ผิดไปจากเดิม หรืออาจมีผลกับแหล่งน้ำหรือสิ่งมีชีวิตเดิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ



1) ประเภทที่ไม่รุกราน ชนิดพันธุ์ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิง่มีชีวิตอื่นๆ หรือระบบนิเวศโดยตรงหรือชัดเจนนัก ดำรงชีวิตแบบไม่แข่งขันหรือขัดต่อต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตท้องถิ่นหรือสมดุลของนิเวศ ตัวอย่างเช่น ปลานิล ปลาไน และปลาจีน รวมถึงปลาเศรษฐกิจต่างๆที่มีการปล่อยลงแหล่งน้ำ ส่วนอีกประเภทคือ




2) ประเภทที่รุกราน เป็นชนิดที่แพร่พันธุ์ได้รวดเร็วและมีความสามารถในการปรับตัวแข่งขันแทนที่ชนิดพันธุ์พื้นเมืองได้ดี และยังมีการดำรงชีวิตที่ขัดขวางหรือกระทบต่อสมดุลนิเวศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบชนิดพื้นเมือง หรืออาจเป็นศัตรูต่อผลผลิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางเกษตรได้ ตัวอย่างเช่น ปลากดเกราะ ปลาดุกแอฟริกัน(ปลาดุกรัสเซีย) และหอยเชอร์รี่



สิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่มีการแพร่กระจายมากที่สุดคือสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์น้ำ การที่สัตว์ต่างถิ่นจะเข้าไปอาศัยในธรรมชาติได้นั้นเกิดจากการกระทำของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ 2 วิธีใหญ่ๆคือ โดยไม่ตั้งใจ เช่นการหลุดหนีจากที่เลี้ยง อุบัติเหตุขณะขนส่ง และภัยธรรมชาติจนทำให้ที่เลี้ยงพังทลาย ส่วนโดยตั้งใจ เป็นการปล่อยเพื่อวัตถุประสงค์ของมนุษย์โดยตรง เช่น เพื่อการทำบุญตามความเชื่อ ปล่อยทิ้งเนื่องจากเบื่อที่จะเลี้ยง หรือประสบปัญหาขาดทุนในการเพาะเพื่อการค้า การปล่อยทิ้งเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมจากเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่นำเข้าและครอบครองอย่างผิดกฏหมาย การปล่อยโดยหน่วยงานราชการเองเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการเพิ่มผลผลิตแหล่งน้ำในธรรมชาติและที่ถูกสร้างขึ้น หรือการปล่อยตามพิธีการและโครงการต่างๆ



ในปัจจุบันได้มีการนำเข้าสัตว์และพืชต่างถิ่นเข้ามาเพาะเลี้ยงในประเทศไทยมากมายหลากหลายชนิด บางชนิดนำเข้ามาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอาหาร บางชนิดนำเข้ามาเพื่อใช้ในด้านการสันทนาการ และเมื่อเลิกเลี้ยงหรือโดยอุบัติเหตุก็มักหลุดกระจายไปไปยังแหล่งน้ำ ป่าบริเวณใกล้เคียงทำให้ปะปนกับสิ่งมีชีวิตพื้นเมืองในธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและระบบนิเวศของประเทศ


จากการสำรวจของนักวิชาการพบว่าสัตว์ต่างถิ่นที่พบในเมืองไทยมีสัตว์ต่างถิ่น มากกว่า 3500 ชนิด ส่วนมากจะเป็นสัตว์น้ำ และพืชต่างถิ่นมี 14 ชนิด โดยมี 7 ชนิดอยู่ในบัญชีของพืชต่างถิ่นที่ร้ายแรงของโลกประกอบด้วย ผักตบชวา ไมยราบยักษ์ หญ้าคา อ้อ ขี้ไก่ย่าน ผกากรอง และกระถิ่นยักษ์



เมื่อสัตว์ต่างถิ่นหลุดเข้าไปอยู่ในถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบทางตรงเป็นผลกระทบเห็นได้ชัดเจนและรุนแรงในระยะเวลาอันสั้น จากการแพร่พันธุ์สร้างประชากรอย่างรวดเร็วและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมสร้างผลกระทบต่อสมดุลนิเวศ ได้แก่



-เป็นผู้ล่าต่อสัตว์พื้นเมืองเดิม (Predator) มักเป็นสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่หรือมีการรวมฝูง ทำให้จำนวนชนิดเปลี่ยนแปลงและก่อผลเสียต่อสมดุลนิเวศในภายหลัง เช่น ปลาดุกรัสเซีย



-เป็นตัวแก่งแย่ง (Competitor) โดยเป็นผู้แก่งแย่งถิ่นที่อยู่อาศัย อาหารและพื้นที่สืบพันธุ์ ทำให้ชนิดที่อ่อนไหวสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ เช่น ปลานิล ปลาPeacock Bass ปลาหมอบลัตเตอร์




-นำโรคหรือปรสิต (Disease and parasite carrier) สัตว์บางชนิดมีโรคหรือปรสิตเดิมที่มันสามารถทนทานได้ดีอยู่แล้ว แต่สัตว์พื้นเมีองไม่มีความต้านทานดังกล่าว เมื่อเข้าไปอยู่อาศัยอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคระบาดและปรสิตได้ เช่น ปลาจีนเป็นพาหะนำโรคหนอนสมอและราปุยฝ้าย หอยเชอร์รี่เป็นพาหะกลาง (Intermediate Host) ของพยาธิ Angiostoma มาสู่มนุษย์



-รบกวนหรือทำลายสภาพนิเวศ (Habitat Disturbance) สัตว์บางชนิดเป็นผู้ล่าหรือผู้ถูกล่า เมื่อองค์ประกอบระหว่างผู้ล่าและผู้ถูกล่าเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการเพิ่มเข้ามาของสัตว์ต่างถิ่น สมดุลทางนิเวศวิทยาก็เกิดการเปลี่ยนแปลงส่งผลระยะยาว ตัวอย่างเช่นหอยเชอร์รี่ที่กัดกินต้น ใบอ่อนจนหมดและเกิดการเปลี่ยนสังคมพืชในแหล่งน้ำทำให้ความหลากหลายของสัตว์น้ำลดลงในเวลาต่อมา



-ก่อการเสื่อมทางพันธุกรรม (Genetic pollution, Erosion) สัตว์ต่างถิ่นบางชนิดมีลักษระพันธุกรรมใกล้เคียงกับสัตว์พื้นเมืองจนอาจมีการผสมข้ามพันธุ์เกิดเป็นลูกผสม ทำให้ลูกที่ออกมามีอัตราการรอดต่ำและเป็นหมันในรุ่นต่อ ความหลากหลายทางพันธุกรรมเดิมเสื่อมลง เช่น ปลาดุกรัสเซียและลูกผสม(ปลาดุกบิ๊กอุย) ที่มีการปนเปื้อนกับพันธุกรรมของปลาดุกด้านหรือปลาดุกอุย เป็นต้น

ข้อมูลดีๆจาก http://www.vcharkarn.com/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น